วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หุบเขาจิ่วจ้ายโกว

           หุบเขาจิ่วจ้ายโกว (จีนตัวย่อ: 九寨沟; จีนตัวเต็ม: 九寨溝; พินอิน: Jiǔzhàigōu; ความหมาย หุบเขาเก้าหมู่บ้าน;
ภาษาทิเบต: Sicadêgu (gZi rTSa sDe dGu)) เป็นพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติทางตอนเหนือของมณฑลเสฉวน
สาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อเสียงจากน้ำตกหลายระดับชั้นและทะเลสาบที่มีสีสันงดงาม และได้รับการประกาศให้
เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 "ที่สุดแห่งสายน้ำ","ถึงจิ่วจ้ายโกวไม่ยลน้ำอื่น"การีนตีความงดงามของอุทยานสวรรค์จิ่วจ้ายโกว
ได้ดีในเขตการปกครองพิเศษธิเบตอาป้าและเกียงซึ่งเป็นที่ตั้งของจิ่วจ้ายโกวนั้นมีแหล่งท่องเที่ยวที่ทรงความงดงามของสายน้ำ
หลายแห่งทั้งจิ่วจ้ายโกวซึ่งเป็นที่สุดของสายน้ำกลางป่าเปลี่ยนสีทั้งหวงหลงเองก็งดงามด้วยน้ำใสสีเทอควอยซ์บนหุบเขาหิมะทำ
ให้เส้นทางจิ่วจ้ายโกวหวงหลงเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่ควรไปเยือนสักครั้งหนึ่งในชีวิต



ข้อมูลทั่วไป

                
                จิ่วจ้ายโกว เปิดตัวอวดชาวโลกเมื่อปี พ.ศ. 2533และใช้เวลาเพียง 2 ปี ก็ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 จิ่วไจ้โกวเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าทางตอนใต้ของเทือกเขาหมินซาน และเป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำเจียหลิงที่เป็นสาขาหนึ่งของลำน้ำแยงซีเกียง ตั้งอยู่ริมชายขอบของที่ราบสูงทิเบตดินแดนแห่งหลังคาโลก เป็นเขตต่อเชื่อมจากที่ราบสูงทิเบตสู่มณฑลซื่อชวน สภาพทางนิเวศวิทยาของบริเวณนี้เป็นร่องรอยที่เกิดจากแรงอัดและการเคลื่อนตัวของ เปลือกโลกหนุนขึ้นมาจนอยู่ในระดับสูง ทำให้เกิดร่องหินคดเคี้ยวเป็นทางยาว มีทั้งยอดเขาหิมะสูงเสียดฟ้า และหุบเขาลึกเฉพาะเขตที่มีการเปิดให้สาธารณชนเข้าชมก็มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 2,000 - 3,100 เมตร อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 7 - 8 องศาเซลเซียส ด้วยสภาพภูมิประเทศที่มีความสูงต่ำแตกต่างกันอย่างมากมายนี้ ได้ทำให้สภาพภูมิอากาศและพืชพรรณสัตว์ป่าก็มีความหลากหลายและซับซ้อนยิ่งขึ้น


สภาพทางภูมิศาสตร์


           จิ่วจ้ายโกวตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของเทือกเขาหมินซาน ห่างจากเมืองเฉิงตูไปทางเหนือ 330 กิโลเมตร ถือเป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑล Nanping ในเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตและเชียงอาป้า ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวน ใกล้เขตแดนของมณฑลกานซู
บริเวณหุบเขามีพื้นที่อย่างน้อย 240 ตารางกิโลเมตร ขณะที่องค์กรด้านการอนุรักษ์บางแห่งกำหนดให้มีพื้นที่ 600-700 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่กันชนเพิ่มเข้ามา 400 - 600 ตารางกิโลเมตร ระดับความสูงจะแตกต่างไปตามแต่ละพื้นที่ โดยมีทั้งพื้นที่มีมีความสูง 1,998 - 2,140 เมตร (ที่ปากทางเข้าหุบเขาซูเจิ้ง) ไปจนถึง 4,558 - 4,764 เมตร (บนภูเขา Ganzigonggai ที่ส่วนยอดสุดของหุบเขา Zechawa)
สภาพอากาศในหุบเขาจัดว่าหนาวเย็น ตลอดปีมีอุณหภูมิเฉลี่ย 7.2 °C เดือนมกราคม -1 °C และเดือนกรกฎาคม 17 °C ปริมาณน้ำฝนตลอดทั้งปี 661 มิลลิเมตร โดยเป็นปริมาณระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมราว 80%




ข้อมูลทางประวัติศาสตร์


          พื้นที่อันห่างไกลแห่งนี้มีชาวทิเบตและเชียงตั้งรกรากอยู่มานานหลายศตวรรษ แต่ไม่ได้มีการสำรวจอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี พ.ศ. 2515 มีการทำธุรกิจตัดไม้อย่างหนักจนถึงปี พ.ศ. 2522 ซึ่งรัฐบาลจีนได้สั่งห้ามกิจการดังกล่าว และประกาศพื้นที่นี้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่ง พ.ศ. 2527 จึงได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม โดยการวางกฎระเบียบและสถานที่ต่างๆภายในอุทยานเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2531 และในปี พ.ศ. 2535 องค์การยูเนสโกได้ประกาศพื้นที่นี้ให้เป็นมรดกโลก และเป็น World Biosphere Reserve ใน พ.ศ. 2540
ตั้งแต่เริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม จำนวนนักท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2527 มีนักท่องเที่ยว 5,000 คน พ.ศ. 2534 มี 170,000 คน พ.ศ. 2538 มี 160,000 คน และ พ.ศ. 2540 มี 200,000 คน โดยเป็นชาวต่างชาติประมาณ 3,000 คน ปี พ.ศ. 2545 มีผู้เยี่ยมชม 1,190,000 คน และในปี พ.ศ. 2547 มีผู้เยี่ยมชมเฉลี่ยวันละ 7,000 คน



ข้อมูลจาก : wikipedia,wonderfulpackage


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น